วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2551

หลักการเลือกสีพื้นและสีตัวอักษร

ในการทำงานนำเสนอในPower Point สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือการเลือกสีพื้นและสีตัวอักษรให้เหมาะสมกัน



หลักในการเลือกมีหลักการว่าสีพื้นและสีตัวอักษรจะต้องเป็นสีที่ตัดกัน ต้องมีค่าความเข้มของสีที่แตกต่างกันอย่างแท้จริง



หากสีพื้นมีค่าน้ำหนักของสีมาก หรือสีเข้ม เราจะต้องเลือกสีตัวอักษรที่จะพิมพ์ลงไปนั้นให้เป็นอักษรสีอ่อนหรือสีที่มีค่าน้ำหนักของสีน้อย



และหากสีพื้นมีค่าน้ำหนักของสีน้อยหรือสีอ่กน เราจะต้องเบือกสีตัวอักษรที่จะพิมพ์ลงไปนั้นให้เป็นอักษรสีเข้มหรือสีที่มีค่าน้ำหน้กของสีมาก ดังตัวอย่างต่อไปนี้












วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551

การใช้ Power Point สร้างบัตรคำ สอนคำศัพท์

โปรแกรม power point นั้นนอกจากจะใช้ประกอบการนำเสนอการบรรยายแล้ว เรายังสามารถนำไปประยุกต์ใช้สร้างบทเรียนวิชาต่างๆ ได้ เช่น การสร้างบัตรคำศัพท์ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้คำศัพท์เฉพาะของวิชานั้นๆ ผู้สอนควรออกแบบบัตรคำไว้หลายๆ รูปแบบ บันทึกไว้ในแผ่นซีดี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำมาเปิดใช้เรียนรู้ด้วยตนเองได้ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่จำกัดเวลา และสถานที่ สะดวกเมื่อไรก็นำซีดีมาเปิดใช้ได้เลย ตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นการออกแบบบัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ซึ่งมีวิธีการออกแบบดังนี้

1. คลิก start เลือก Microsoft Power Point
2. คลิก แฟ้ม (file) คลิก สร้าง (new) เพื่อสร้างพื่นที่ทำงาน 1 slide
3. คลิก ออกแบบ เลือก เค้าโครงภาพนิ่ง เลือก slide ที่ว่างเปล่า
4. สร้างข้อความ “บัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษ” โดยคลิกไอคอน กล่องข้อความ แล้วนำมาคลิกที่ slide พิมพ์อักษร D
5. คลิกขอบกล่องข้อความ ใช้เมาส์ชี้ขุดด้านขวากลาง จะเห็นเป็นรูปลูกศร คลิกเมาส์ลากขอบกล่องข้อความให้ขยายขนาดตามความเหมาะสม
6. กำหนดให้อักษรอยู่ในตำแหน่งตรงกลาง
7. ใช้ถังสี เทสีในกล่องข้อความ โดยคลิกถังสี เลือกสี เมื่อคลิกเลือกสีใด สีใหม่ก็จะปรากฏในกล่อง้อความ คลิกเลือกสีกี่ครั้งก็ได้จนกว่าจะได้สีที่พอใจ เมื่อหยุด สีที่คลิกครั้งสุดท้ายจะเป็นสีที่เราเลือกแล้ว
8. คลิกปุ่ม ctrl ที่แป้นคีบอร์ดค้างไว้ กดปุ่ม C เพื่อคัดลอกกล่องข้อความตัว D
9. คลิกปุ่ม ctrl ที่แป้นคีบอร์ดค้างไว้ กดปุ่ม V เพื่อวางกล่องข้อความที่คัดลอกมา
10. ใช้เมาส์ลากกล่องข้อความใหม่มาวางเรียงต่อกัน แล้วเปลี่ยนตัวอักษรเป็น R และใช้ถังสี เทสีใหม่ลงไป
11. ทำข้อ 9-10 เมื่อคัดลอกกล่องข้อความแล้วก็ให้เปลี่ยนอักษรเป็นตัว B และ I ตามลำดับ
12. การกำหนดการเคลื่อนไหวให้ข้อความ (effect movement) ทำได้ดังนี้
1. การครอบตัวอักษรทั้งสี่ตัว โดย เมื่อวางเมาส์ไว้ จะเห็นรูปลูกศรปรากฏบนหน้าจอ ให้เลื่อนเมาส์เพื่อให้ลูกศรวางนอกจอเล็กน้อยห่างจากกล่องข้อความตัว D คลิกเมาส์ซ้ายค้างไว้ ลากเมาส์ครอบอักษรทั้ง 4 ตัว (จะปรากฏเป็นเส้นประขณะลากเมาส์ครอบอักษร) เมื่อครอบทั้งหมดแล้วให้ปล่อยเมาส์ อักษรทั้งสี่ตัวจะมีปุ่ม active ปรากฏขึ้น
2. คลิก การเคลื่อนไหวแบบกำหนดเอง > เพิ่มลักษณะพิเศษ > เข้า > เลือก ลอยเข้า
คลิกตกลง คลิกเลือก : หลังก่อนหน้า กำหนดความเร็ว : เร็ว แล้วคลิกปุ่มเล่น เพื่อดูeffect ที่เกิดขึ้น จะเห็นว่าตัวอักษรเคลื่อนที่ทีละตัว การทำในข้อ2 นี้เป็นการโชว์โจทย์
3. การทำในข้อ 3 นี้ เป็นการเฉลยว่า เมื่อบัตรคำที่กำหนดให้นี้นำมาเรียงกันจะได้คำศัพท์คำว่า BIRD แปลว่า นก
คลิกกล่องข้อความ B คลิกการเคลื่อนไหวที่กำหนดเอง > เพิ่มลักษณะพิเศษ > เลือกเส้นทางการเคลื่อนที่ > วาดเส้นทางแบบกำหนดเอง > เส้น วางเมาส์ที่ตัวอักษร B คลิกเมาส์และลากไปทางซ้ายเฉียงไปด้านบน วางเมาส์จะเห็นผลของการเคลื่อนไหว หากไม่พอใจก็แก้ไขได้โดยให้คลิกที่ปลายลูกศรสีแดง เส้นลูกศรจะเกิดปุ่ม active ขึ้น วางเมาส์ที่ปุ่ม คลิกเมาส์ค้างไว้ลากปุ่มให้สั้นยาว และวางเส้นในตำแหน่งที่ต้องการใหม่ได้
4. อักษรตัว R B และ I ก็สั่งอย่างนี้เช่นเดียวกัน โดยลากเส้นให้ปลายลูกศรสีแดงวางเรียงในระดับเดียวกัน เพื่อให้บัตรคำแต่ละบัตรวางเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ
13. คลิกกล่องข้อความ พิมพ์คำว่า นก ขยายขนาดตัวอักษรให้ใกล้เคียงกับอักษรภาษาอังกฤษที่พิมพ์ไว้แล้ว กำหนดตัวหนา เปลี่ยนสี ใส่เงาตามต้องการ แล้วนำมาวางไว้ระหว่างตัวอักษรภาษาอังกฤษตัว R I คลิกรูปวาด เลือกลำดับ วางไว้หลังสุด คำว่านกจะวางไว้หลังอักษรภาษาอังกฤษเรียบร้อยแล้ว
14. กำหนดความเคลื่อนไหวให้กับคำว่านก โดยให้คำนี้ ปรากฏหลังจากคำว่า BIRD ปรากฏแล้ว มีวิธีการคือ คลิกที่ขอบกล่องข้อความคำว่านก เพิ่มลักษณะพิเศษ เลือก เข้า : ลอยเข้า กำหนด : เมื่อคลิกเมาส์ ความเร็ว : เร็ว
เพียงเท่านี้เราก็จะได้บัตรคำ ทั้งโจทย์ และเฉลยแล้วล่ะคะ ลองทำดูนะคะ

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550

การใช้Power Point สร้างเกมสำหรับเด็ก

การออกแบบอักษรหัวเรื่องด้วยMS Word

การออกแบบหัวเรื่องด้วยMS Word
หัวเรื่องเป็นสื่อบ่งบอกสาระสำคัญของเนื้อหา หลักการออกแบบหัวเรื่อง
ต้องคำนึงถึงรูปแบบของตัวอักษร สีและขนาดของตัวอักษร รวมทั้งภาพประกอบ (ถ้ามี)
หัวเรื่องนอกจากจะสื่อความหมายของเนื้อหาสาระแล้วยังสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกในเนื้อหาอีกด้วย
วิธีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปไมโครซอฟวอร์ดในการออกแบบหัวเรื่อง โดยใช้การกำหนด
รูปแบบตัวอักษรด้วยเครื่องมือ 2 อย่าง อย่างแรกที่จะนำเสนอให้ผู้สนใจได้ทดลอง
ทำดู ก็คือ ใช้เครื่องมือ "รูปแบบ ตัวอักษร" ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้
ตัวอย่างเช่น

1. เปิดเอกสารใหม่
2. คลิกรูปแบบ เลือก ตัวอักษร
3. เซตรูปแบบของตัวอักษร ขนาด และสี
4. พิมพ์ข้อความที่ต้องการในเอกสารใหม่
5. นำเคอเซอร์มาไว้หน้าตัวอักษรตัวแรก คลิกเมาส์ซ้ายค้างไว้ ลากทำแถบดำ
6. ขยายตัวอักษร และเปลี่ยนสี (คลิกที่ไอคอนรูปตัวA)
7. นำเคอเซอร์มาไว้หน้าตัวอักษรตัวสุดท้าย คลิกเมาส์ซ้ายค้างไว้ ลากทำแถบดำ (ในตัวอย่างนี้ทำแถบดำที่ตัว i และเปลี่ยนขนาดด้วย)
8. ขยายตัวอักษรให้เท่ากับตัวแรก และเปลี่ยนสี
9. ช่องว่างระหว่างตัวอักษรตัวแรกและตัวสุดท้าย ให้เพิ่มข้อความโดย
10. คลิกไอคอนกล่องข้อความ พิมพ์ข้อความลงไป นำเมาส์ชี้ที่ขอบกล่องข้อความ คลิกเมาส์ซ้ายค้างไว้ ลากเมาส์นำกล่องไปวางระหว่าง ตัวอักษรตัวแรกกับตัวสุดท้าย เปลี่ยนสีสันตามต้องการ หากข้อความซ้อนกันให้ไปที่คำสั่งรูปวาด เลือกลำดับ วางไว้หลังสุด เพียงเท่านี้ท่านก็จะได้ข้อความหัวเรื่องที่ออกแบบอย่างสวยงามได้เองแล้ว ลองทำดูนะคะ



วิธีที่สองก็คือการใช้ แทรกword art





ใน word art จะมีรูปแบบของตัวอักษรหลากหลายให้เลือก การเลือกต้อง เลือกใช้ให้เหมาะสมกับกาละเทศะด้วยและต้องคำนึงถึงพื้นหลังของตัวอักษรด้วยโดยหากพื้นหลังสีเข้มตัวอักษรควรเป็นสีอ่อน ไม่ควรเลือกพื้นหลังและตัวอักษรให้มีค่าน้ำหนักความเข้มของสีเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน เพราะจะทำให้มองเห็นได้ไม่ชัด เป็นอุปสรรคในการสื่อสารความหมาย การใช้ word art มีวิธีการดังนี้

1. เปิดเอกสารใหม่ แล้วคลิกไอคอนตัวเอ สัญลักษณ์แทรก word art

2. ใช้เมาส์ชี้รูปแบบอักษรที่ต้องการ คลิกเมาส์เพื่อเลือก

3. เลือกรูปแบบตัวอักษร ขนาด ความหนา ความเอียง แล้วพิมพ์ตัวอักษรที่ต้องการลงไป

4. คลิกตกลง ตัวอักษรหัวเรื่องที่ต้องการจะปรากฏในแผ่นเอกสาร

5. ใช้เมาส์ชี้ที่ตัวอักษร เลื่อนอักษรไปมาได้ ย่อขยายได้ และเปลี่ยนสีได้โดยคลิกรูปถังสี

ถังสีมีสีให้เลือกหลายแบบ ได้แก่ สีที่กำหนด สีลักษณะพิเศษ เป็นสีเดียวไล่ค่าน้ำหนักสองสีที่กำหนดให้ สองสีไล่ค่าน้ำหนัก แล่นแถบของสีแนวตั้ง แนวนอน แนวเฉียงซ้าย แนวเฉียงขวาได้ตามใจชอบ เล่นสีพื้นผิว ลายเส้น และสีจากภาพอื่นๆ เราสามารถเลือกลูกเล่นเหล่านี้ได้โดยต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่เลือกสอดคล้องกับความหมายสาระและอารมณ์ของหัวเรื่องที่เราต้องการจะสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างที่เราจะให้เข้าใจด้วย

6. หากต้องการเปลี่ยนเงาให้คลิกที่ รูปลักษณะเงา ชี้และคลิกแบบของเงาที่ต้องการ

7. หากต้องการเปลี่ยนเป็นสามมิติ ให้คลิกที่รูปลักษณะ 3 มิติ ชี้และคลิกแบบของลักษณะสามมิติที่ต้องการ

และเท่านี้เราก็จะได้หัวเรื่องจากการออกแบบด้วยโปรแกรมไมโครซอฟวอร์ดแล้วล่ะคะ มีข้อสงสัยใดต้องการข้อมูลหรือตัวอย่างเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ ksaowanit@gmail.com

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ออกแบบกราฟิก

มีอะไรน่าสนใจในการใช้power point สร้างเกมสำหรับเด็ก